No.4 0 Posted October 2, 2017 Rabbit Finance Blog หากพูดถึงอุบัติเหตุรถยนต์ แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เราจึงเรียนรู้ที่จะป้องกันโดยการหมั่นตรวจเช็กสภาพรถ เตรียมความพร้อมของคนขับ และเรียนรู้วิธีขับรถให้ปลอดภัยเป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างนั้น ก็ใช่ว่าเราจะปลอดภัยจากอุบัติเหตุเสมอไป เพราะในความเป็นจริงปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์นั้นยังมีอีกมากมาย โดยสาเหตุใกล้ตัวที่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม นั่นก็คือ “โรคประจำตัว”ของเราเอง วันนี้เราจะพามารู้จักกับ “4 โรคประจำตัวร้ายแรง”ที่ห้ามผู้ป่วยขับรถเพียงลำพังโดยเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการขับขี่จนทำให้เกิดอันตรายกับตนเองและผู้อื่นได้ ว่าแต่จะมีโรคอะไรบ้าง เรามาดูไปพร้อมกันเถอะ! 4 โรคร้ายแรง ที่ห้ามผู้ป่วยขับรถตามลำพัง โรคประจำตัวที่ผู้ป่วยไม่ควรขับขี่นั้นมีอยู่มากมาย แต่เรากำลังจะพูดถึงโรคประจำตัว 4 ชนิด ที่บางคนอาจไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาในการขับรถ และถ้าหากยังปล่อยให้ผู้ป่วยขับรถด้วยตัวเองต่อไป มีหวังได้เกิดหายนะขึ้นอย่างแน่นอน โรคหัวใจ เพราะต้องพบเจอกับความตึงเครียดบนท้องถนน สภาพการจราจรที่ติดขัดของประเทศไทย รวมถึงเรื่องน่าหงุดหงิดอีกมากมาย แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้คือตัวกระตุ้นชั้นดี ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือที่เรามักเรียกกันว่า“หัวใจวาย” โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับน้ำตาลในเลือด และนั่นละครับคือส่วนที่อันตรายที่สุดหากปล่อยให้ขับรถเพียงลำพัง เพราะหากน้ำตาลในกระแสเลือดมีการเปลี่ยนแปลงจนเกิดสภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จะส่งผลให้สมองอ่อนเพลีย อุณหภูมิร่างกายลดต่ำ ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง ตาพร่ามัว และอาจมีอาการชักจนหมดสติได้ในที่สุด หากอาการเหล่านี้ได้กำเริบในขณะขับรถแล้ว ต้องเกิดการสูญเสียบนท้องถนนขึ้นอย่างแน่นอน โรคลมชัก ผู้ป่วยโรคลมชัก จะมีอาการผิดปกติของเซลล์สมอง ผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบจะมีอาการชักเกร็งทั้งตัว ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้นานหลายนาทีหรืออาจถึงขั้นหมดสติได้ เราลองนึกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากผู้ป่วยมีอาการกำเริบ แล้วเหยียบคันเร่งค้างไว้ดูสิครับ ผู้ที่เคยผ่าตัดสมอง การผ่าตัดสมองย่อมส่งผลกระทบข้างเคียงต่อร่างกาย โดยอาการนั้นจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเราได้ผ่าตัดสมองส่วนไหนและสมองส่วนนั้นทำหน้าที่ควบคุมอะไร มีผลกระทบต่อความจำ ความเร็วในการตัดสินใจ การควบคุมกล้ามเนื้อหรือการทรงตัว หรือไม่เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ทั้งสิ้น แต่การจะไม่ให้ขับรถอีกเลย มันคงเป็นไปไม่ได้ เพราะการเดินทางได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคน กับผู้ป่วยเองก็ต้องใช้ชีวิต ต้องมีการเดินทางเหมือนกัน เมื่อถึงคราวที่ต้องขับรถขึ้นมาจริงๆ จะไม่ขับก็คงไม่ได้ ในเมื่อเป็นแบบนี้เราคงต้องเปลี่ยนจากการห้าม เป็นการแนะนำทางเลือกที่จะช่วยผ่อนหนักให้กลายเป็นเบา ด้วยข้อควรปฏิบัติของผู้ที่มีโรคประจำตัวในกรณีที่ต้องขับรถด้วยตัวเอง ข้อควรปฏิบัติในการขับรถ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว **ปรึกษาแพทย์ โรคประจำตัวมักมีอาการไม่คงที่ บางครั้งก็ใช่ว่าคุณผู้ป่วยจะขับรถไม่ได้เสมอไป เพียงแต่ต้องทำ ตรวจเช็กร่างกายและขอคำปรึกษาจากแพทย์ทุกครั้ง **พกยารักษาโรคและบัตรผู้ป่วยติดไว้เสมอ อาการของโรคประจำตัวจะกำเริบเมื่อไหร่ไม่มีใครทราบได้ หากมีความจำเป็นต้องขับรถควรพกยารักษาโรคและบัตรผู้ป่วยระบุรายละเอียดโรคไว้เสมอ เพื่อที่เราจะได้รับการช่วยเหลือที่ถูกวิธีในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน **ไม่ควรทานยาก่อนขับรถ การทานยามักนำมาซึ่งผลข้างเคียงต่างๆ และทำให้ประสิทธิภาพในการขับขี่ลดลง **ไม่ควรขับรถตามลำพัง การมีเพื่อนร่วมทางไปด้วยเสมออาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือโรคประจำตัวกำเริบขึ้น คนที่อยู่ใกล้ตัวที่สุดจะสามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที **ไม่ควรขับรถทางไกล ยิ่งระยะทางไกลขึ้นเท่าไหร่ ผู้ป่วยก็ยิ่งต้องขับรถนานขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้าจนรับไม่ไหว และเกิดอาการกำเริบของโรคขึ้นได้ **หลีกเลี่ยงการจราจรติดขัด เพราะการอยู่ท่ามกลางจราจรที่ติดขัดจะส่งผลให้เกิดความเครียด ที่เป็นสาเหตุหลักในการกำเริบของโรคต่างๆ ได้ **ใช้บริการสาธารณะ ถือเป็นทางเลือกที่ดีในการเดินทาง เพราะไม่ต้องรับภาระความเครียดจากการขับขี่เอง หากมีอาการกำเริบของโรคก็จะไม่เกิดอันตรายขึ้นบนท้องถนน แถมยังมีคนใกล้ตัวช่วยเหลือได้ทันท่วงทีอีกด้วย แต่เราก็อยากให้คุณเก็บคำแนะนำเหล่านี้ ไว้ใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เพราะการหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ป่วยต้องขับรถด้วยตัวเอง คงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกับตัวผู้ป่วยและผู้ใช้ถนนคนอื่นๆ มากที่สุดอยู่ดี ส่วนใครที่ได้อ่านบทความนี้แล้วพบว่าตัวเองไม่ได้เป็นโรคประจำตัวเหล่านี้ ก็อย่าพึ่งชะล่าใจไปนะครับ เพราะอย่างที่เราได้บอกไปในตอนแรกว่า ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์นั้นมีมากมายเหลือเกิน ประกันรถยนต์จึงเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนควรมีติดไว้เสมอ ข่าวต้นฉบับ ที่มา ไลน์ทูเดย์ Share this post Link to post Share on other sites