No.4 0 Posted November 23, 2017 Akeru Feed คุณเคยสงสัยไหมว่า หากมีคำว่า “ต้านฤทธิ์แบคทีเรีย (Antibacterial)” ที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ของคุณ มันจะมีประโยชน์กับร่างกายของคุณจริงๆ หรือ? ในความเป็นจริงมันอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณกำลังมองหามีสารเคมีที่เป็นอันตราย ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุของการเกิดพังผืดในตับ, โรคตับแข็ง และโรคมะเร็ง *ส่วนผสมของยาสีฟัน * ส่วนผสมในยาสีฟันมีสารที่อันตรายจริงหรือ เรามาดูส่วนประกอบหลัก ๆ ของมันกันก่อน ว่ามีอะไรบ้าง 1. สารประกอบที่ให้ฟลูออไรด์ มีหน้าที่ช่วยป้องกันฟันผุ ทำหน้าที่เคลือบฟัน ป้องกันการกัดกร่อนของแบคทีเรีย ปกติแล้วจะผสมความเข้มข้นของฟลูออไรด์เพียง 1 กรัมเท่านั้น หากใช้มากเกินไปจะทำให้ฟันด่างได้ 2. สารขัดฟัน ช่วยกำจัดรอยเปื้อนและคราบหินปูน หากมีส่วนผสมเหล่านี้อยู่ในยาสีฟันมากเกินไป ก็อาจจะทำลายเคลือบฟันของเราได้เช่นกัน 3. สารลดแรงตึงผิว สารชนิดนี้ช่วยทำให้เกิดฟอง เวลาแปรงฟันจะไม่ทำให้ยาสีฟันไหลออกจากปากนั่นเอง 4. สารรักษาสภาพความเปียกชื้น ช่วยรักษาสภาพของยาสีฟันให้ชื้น ไม่แห้ง *5. สารกันเสีย * ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในยาสีฟัน ปกติแล้วในยาสีฟันจะมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็อาจแพ้ได้ สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย *6. สารแต่งกลิ่นรส * ทำให้ยาสีฟันที่คุณใช้มีรสชาติต่าง ๆ เช่น รสมินท์ รสสตรอว์เบอร์รี เป็นต้น 7. ส่วนประกอบอื่น ๆ อย่างเช่น สารให้รสหวาน สารลดการเสียวฟัน สารช่วยซ่อมแซมเคลือบฟันและเนื้อฟัน และ สารต่อต้านแบคทีเรีย ซึ่งนอกจากส่วนผสมหลัก ๆ ในยาสีฟันที่กล่าวไปในข้างต้นนี้ กลับพบว่าภายในส่วนผสมของยาสีฟันบางยี่ห้อมีส่วนประกอบของ ไตรโคซาน และ โซเดียม ลอริล ซัลเฟต ด้วย ไตรโคซานคืออะไร? มีโทษอย่างไร? มีคำถามมากมายเกี่ยวกับส่วนประกอบที่รู้จักกันดีในชื่อ “ไตรโคซาน” ที่มักจะพบในสินค้าอุปโภคบริโภคที่หลากหลายประเภท รวมทั้งสบู่, ยาสีฟัน, ผงซักฟอก หรือแม้กระทั่งของเล่นเด็ก ขณะนี้ไตรโคซานกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบโดยองค์การอาหารและยา เนื่องจากผู้ตรวจสอบกังวลว่ามันอาจมีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สาธารณสุขแคนาดาได้ข้อสรุปนี้ว่า การใช้ไตรโคซานในปริมาณมากจะเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม นอกจากนี้กองทุนมะเร็งเต้านมยังรายงานว่า ส่วนประกอบไตรโคซานยังให้ผลลัพธ์ที่ซับซ้อนเมื่อรวมกับ estrogenic, antiestrogenic, androgenic และ antiandrogenic ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็หมายถึง ไตรโคซานทำให้เกิดการพัฒนาเต้านมที่ผิดปกติ ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าปริมาณของไตรโคซานจะมีขนาดต่ำ แต่ก็สามารถเพิ่มอัตราการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเต้านมได้อย่างรวดเร็วในระดับที่สูง และกลายเป็นพิษมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผลการรายงานจาก Mayo Clinic องค์กรสุขภาพแถวหน้าในอเมริการายงานว่า ไตรโคซานจะเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนและพัฒนาไปสู่การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย และยังเป็นอันตรายต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย ดร.เจมส์ เอ็ม ชเต็กเคลเบิร์ก ผู้ประพันธ์รายงานได้กล่าวเอาไว้ว่า “ไตรโคซานไม่ได้เป็นส่วนผสมสำคัญในผลิตภัณฑ์จำนวนมาก ในขณะที่ไตรโคซานถูกเพิ่มลงในยาสีฟันเพื่อช่วยป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ไม่มีหลักฐานใดทีกล่าวว่า สบู่ต้านฤทธิ์แบคทีเรียและสบู่ชำระล้างร่างกายที่มีส่วนประกอบของไตรโคซานให้ประโยชน์กับร่างกายเป็นพิเศษ ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา “ เพราะฉะนั้นแนะนำให้ผู้บริโภคมองหาผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีไตรโคซานดีที่สุดค่ะ โซเดียม ลอริล ซัลเฟต คืออะไร? มีโทษอย่างไร? โซเดียม ลอริล ซัลเฟต เป็นสารลดความตึงผิว ที่มีประจุลบ ช่วยให้ยาสีฟันของเราเกิดฟองขณะแปรงฟัน หากเผลอกลืนกิน ก็อาจเป็นอันตรายกับกระเพาะอาหาร และ ลำไส้ ทำให้กระเพาะอาหารอักเสบได้ หรือที่แย่กว่านั้นยังทำลายเม็ดเลือดขาวได้ด้วย ผลการวิจัยจาก The American College of Toxicity รายงานว่า สารชนิดนี้สามารถกัดกร่อนและเป็นอันตรายกับนื้อเยื่อบุในช่องปาก เจ้าสารตัวนี้สามารถแทรกซึม และตกค้างอยู่ในตา สมอง หัวใจ และตับ หากใช้ไปนาน ๆ ก็อาจจะมีผลอันตรายต่อตนเองในระยะยาว นอกจากนี้ยังพบว่าสารโซเดียม ลอริล ซัลเฟต (SLS) สามารถพบได้ในน้ำยาทำความสะอาดรถ น้ำยาทำความสะอาดพื้น และ แชมพูส่วนใหญ่อีกด้วย ในปัจจุบันสารชนิดนี้พบในยาสีฟันหลาย ๆ ยี่ห้อ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็อย่ากลืนกิน แปรงฟันอย่างระมัดระวังไม่ให้เลอะรอบ ๆ ปากเพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ เมื่อรู้แบบนี้แล้วหวังว่าพวกเราคงเลือกยาสีฟันที่ปลอดภัย หรือเปลี่ยนมาใช้วิธีแปรงฟันด้วยวิธีธรรมชาติ และดีต่อสุขภาพร่างกายของตนเองกันได้ง่ายขึ้น ครั้งหน้ามีเรื่องราวน่าสนใจ จะรีบมาเล่าให้ฟังกันทันทีค่ะ ที่มา: davidwolfe , matome.naver ข่าวต้นฉบับ ที่มา ไลน์ทูเดย์ Share this post Link to post Share on other sites